วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การล่มสลายของสถาบันฯ3

การล่มสลายของสถาบันฯ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโกงกินหรือรับสินบนจากประเทศสิงคโปร์

เพื่อให้โครงการก่อสร้างสนามบินแห่งนี้เกิดความล่าช้า แต่ผมเชื่อนะครับว่าปัญหาการโกงกินเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสนามบินแห่งนี้นั้น มันมีแน่ครับในทุกรัฐบาลดังที่ได้กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ บรรหาร ศิลปอาชา แต่ว่าอิทธิพลให้เกิดความล่าช้านั้น ประเทศสิงคโปรคงไม่โง่พอที่จะให้สินบนกับรัฐบาลร่างทรงที่มาแล้วก็ไปอย่างแน่นอน เพราะสิงคโปร์ย่อมรู้อยู่เต็มอกว่าใครคือผู้มีอำนาจตัวจริงในประเทศไทย

เมื่อพูดถึงการรับสินบนจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นสินบนระดับชาติ ผมคงต้องพูดถึงในเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในยุคที่เปรมกุมอำนาจและใหญ่คับฟ้าอยู่ในเวลานั้น นั่นก็คือเหตุการณ์เผาโรงงานถลุงแร่แทนทาลั่ม ซึ่งในเวลานั้นเปรมดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นอันสืบเนื่องจากมีนักวิชาการให้คำแนะนำว่า ประเทศไทยสมควรที่จะมีโรงงานถลุงแร่แทนทาลั่มเอง เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีแร่ชนิดนี้มากมายมหาศาลแต่กลับไม่มีโรงงานถลุง

ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ต้องอาศัยวัตถุดิบจากประเทศไทย แต่กลับมีโรงงานถลุงแร่ถึง ๑๗ แห่ง

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการก่อสร้างโรงงานถลุงแร่ขึ้นที่ ต.รัษฏา อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยบริษัท ชิโน-ไทย เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโรงงานแห่งนี้ และเมื่อโรงงานใกล้เสร็จก็มีการปล่อยข่าวว่าการถลุงแร่แทนทาลั่มจะเกิดมลภาวะร้ายแรงและส่งผลให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เท่านั้นเองครับรวดเร็วทันใจเป็นอย่างยิ่งได้เกิดกระแสต่อต้านและมีการวมตัวกัน แล้วลุกลามเป็นการชุมนุมประท้วง ในที่สุดรัฐบาลได้ส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีชื่อว่า ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ.อยุธยา เดินทางไปรับฟังความคิดเห็น

ท่านผู้อ่านครับรัฐบาลปล่อยให้เหตุการณ์ล่วงเลยไปจนกลายเป็นจราจลแล้วค่อยส่งนายจิรายุ ลงไปเหมือนจงใจให้เกิดความรุนแรงขึ้นตามแบบฉบับ และในที่สุดนายจิรายุก็ไม่กล้าไปพบประชาชนตามที่ประกาศไว้ ทั้งนี้สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ก็ยิ่งทำให้ผู้ชุมนุมผิดหวังมากยิ่งขึ้น จนมีการเผาทำลายโรงงานแทนทาลั่มและบุกไปเผาโรงแรม


ภูเก็ตเมอร์ลิน ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงงานแห่งนี้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีการปล่อยข่าวอีกว่านายจิรายุที่มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนรัฐบาลนั้น เป็นผู้สนับสนุนให้มีการสร้างโรงงานแทนทาลั่มและได้เดินทางมาพำนักอยู่ที่โรงแรมแห่งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เปรมผู้ยิ่งใหญ่ในเวลานั้น ไม่ได้ดำเนินการใดๆในด้านคดีความ แต่กลับปล่อยให้เป็นคลื่นกระทบฝั่งอย่างมีเงื่อนงำ

การประท้วงและบุกเผาโรงงานแทนทาลั่มในครั้งนั้น มีผู้สันทัดกรณีวิจารณ์ว่าเป็นเรื่องที่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง

เพราะมีการปล่อยข่าวในเรื่องของมลภาวะร้ายแรงและจงใจให้ข่าวว่านายจิรายุมีส่วนสนับสนุนให้มีการก่อสร้างโรงงาน อันเป็นการสาดน้ำมันเข้ากองไฟ แล้วข้อมูลในเรื่องของโรงงานที่มีถึง ๑๗ แห่งในประเทศสิงคโปร์ไม่ได้มีการนำมาอธิบาย อีกทั้งรัฐบาลจงใจที่จะไปรับฟังปัญหาด้วยความล่าช้า และที่สำคัญที่สุดหลัง
เหตุการณ์ผ่านพ้นไปแล้ว นายจิรายุได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฏาคม ๒๕๓๐ แล้วก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แถมด้วยตำแหน่งรองเลธาธิการสำนักพระราชวังอีกตำแหน่งในเวลาต่อมา นี่เป็นการให้ต่างตอบแทนที่คงไม่มีใครสามารถอธิบายได้ดีไปกว่าภูมิพลแน่นอน ผมเขียนมาถึงตรงนี้คงไม่ต้องบอกนะครับว่าใครเป็นผู้รับสินบนที่ถ่วงความเจริญของประเทศชาติ

(อ้อบริษัท ชิโน-ไทย ที่รับเหมาก่อสร้างโรงงานแทนทาลั่มที่ถูกเผาในเวลานั้น มีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ร่างทรงนายเนวิน
ชิดชอบ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาด ไทยอยู่ในเวลานี้เป็นเจ้าของบริษัทครับ)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น