วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การล่มสลายของสถาบันฯ1

การล่มสลายของสถาบันฯ

ผมเชื่อว่าคงไม่มีใครในแผ่นดินที่สามารถสร้างความเสื่อมถอยถึงขั้นล่มสลายให้สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ นอกเสียจากตัวกษัตริย์และราชวงค์เอง

ภูมิพลขึ้นครองบัลลังก์บนตำแหน่งกษัตริย์ ในขณะที่มีเหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำ และเป็นที่เคลือบแคลงของคนทั้งแผ่นดินตราบจนทุกวันนี้ หลังเกิดเหตุภูมิพลได้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยมากที่สุดในเวลานั้น แม้เวลาจะผ่านพ้นมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ยังเป็นที่โจษจันและกังขาของคนไทยว่าเหตุใดผู้ต้องสงสัยนอกจากไม่ถูกดำเนินคดีแล้วยังสามารถขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยามได้

จึงมีการเล่าลือกันมาโดยตลอดว่าอาจเป็นเพราะมารยาของผู้เป็นแม่และพี่สาวอันสุดแสนจะพราวเสน่ห์ในเวลานั้น ช่วยให้หลุดพ้นจากการเป็นผู้ต้องหาคดีลอบปลงพระชนม์ในหลวงอนันท์ฯ ซึ่งเป็นพี่ชายของตัวเอง แล้วก็ใช้เสน่ห์บวกเล่ห์ลิ้นเป็นใบเบิกทางจนภูมิพลสามารถหลุดพ้นและฝ่าอุปสรรค์ต่างๆ ที่มีอยู่ในเวลานั้นขึ้นครองบัลลังก์เป็นกษัตริย์ได้สำเร็จ


การขึ้นสู่ตำแหน่งกษัตริย์ของภูมิพลนั้น มีชีวิตของผู้คนได้ถูกสังเวยอย่างน้อย ๓ คนนั่น


ก็คือนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมศริน และไม่เพียงแค่นี้ บุคคลที่ล่วงรู้ความลับแห่งคดีความนี้หลายคนต้องประสพความทุกข์ยากจนไม่มีแผ่นดินอยู่ ดังเช่น ท่านปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป.พิบูลย์สงครามและ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังมีนายทหารใหญ่ที่ต้องได้รับผลกระทบจากการล่วงรู้ความลับนี้ จนส่งผลให้ชีวิตบั้นปลายมีอันจะต้องมัวหมองจนหมดสภาพความเป็นคนก็มีอยู่หลายคนเช่นกันอย่าง จอมพลถนอม กิติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร (สองจอมพลผู้เกรียงไกรต้องมีอันกลายเป็นทรราช) พล.อ.ยศ เทพหัสดินทร์ ณ.อยุธยา พล.อ.เสริม ณ.นคร พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นต้น และถ้าหากจะพูดถึงนายทหารที่ประสพชะตากรรมที่ไม่พึงประสงค์ในบั้นปลาย

ผมเห็นสมควรที่จะต้องกล่าวถึง ๒ นายพลที่มีอันต้องตายอย่างปริศนาอีก ๒ คน

นั่นก็คือ พล.อ.กฤษ สีวะรา และ พล.อ. อำนาจ ดำริกาญจน การกวาดล้างกลุ่มนายทหารที่เติบโตในยุคจอมพลถนอม โดยมีชีวิตของนักศึกษาปัญญาชนเป็นเครื่องสังเวยในกรณี ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ซึ่งผมเคยเสนอไปแล้วในบทความเรื่อง
ยุทธการเราพร้อมแล้ว) ภายหลังจากที่ยืมมือนิสิตนักศึกษาโค่นล้มอำนาจเผด็จการทหารจอมพลถนอมและจอมพลประภาส ในกรณี ๑๔ ตุลาคม ๑๖ เรียบร้อยแล้ว กษัตริย์ภูมิพลก็วางแผนกำราบกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ทำการเผยแพร่ระบอบประชาธิปไตยในส่วนภูมิภาคตามชนบทต่างๆด้วยวิธีการอันป่าเถื่อน เพราะถือว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องแสลงและเป็นอุปสรรค์ต่อระบอบเอกาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นใหญ่และกุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว


ดังนั้นเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๑๙ จึงถือได้ว่าเป็นมหันตภัยอันโหดเหี้ยมอำมหิตที่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของกษัตริย์ภูมิพล ภายใต้นโยบายขวาพิฆาตซ้าย และก่อนที่ผมจะนำเสนอในรายละเอียดของบทความชิ้นนี้ ผมสมควรที่จะต้องกล่าวถึงเส้นทางเดินขึ้นสู่อำนาจของเปรม จนกระทั่งมีความผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ชนิดแยกไม่ออกว่ามันมีที่มาอย่างไร

ภายหลังการโค่นล้มเผด็จการจอมพลถนอมลง ในปี ๒๕๑๖ เรียบร้อยโรงเรียนสวนจิตรแล้ว ภูมิพลก็หันมาเลือกสนับสนุนนายทหารพิเศษประจำกรมทหารมหาดเล็กที่ ๑ รักษาพระองค์ อดีตผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ซึ่งเป็นนายทหารรับใช้ใกล้ชิดที่มีชื่อว่า พล.ต.เปรม ติณสูลานนท์ ไปดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ ๒ และอยู่ในตำแหน่งเพียงปีเดียวก็ขยับขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ ๒พร้อมครองยศพลโท อีก๒ ปีถัดมา คือปี พ.ศ.๒๕๑๙เปรมก็มีชื่อเข้าร่วมอยู่ในคณะรัฐประหารภายใต้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่มี พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะ เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลหม่อมราชวงค์เสนีย์ ปราโมช


(ม.ร.ว.เสนีย์ไม่ยินยอมใช้วิธีการรุนแรงปราบปรามนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)


ภายหลังการยึดอำนาจ เปรมได้รับการปูนบำเหน็จด้วยการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก นั่งอยู่บนตำแหน่งนี้เพียงปีเดียว เปรมก็ทยานขึ้นไปอยู่บนส่วนหัวอันเป็นตำแหน่งหมายเลขหนึ่งในกองทัพบกคือ ผู้บัญชาการทหารบกในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และเพียงแค่ปีเดียวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ เปรมก็นั่งควบตำแหน่งทางการเมืองบนเก้าอี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนั่งอยู่บนตำแหน่งนี้ยาวไปถึงปี ๒๕๒๙ เมื่อภูมิพลจัดสูตรอาหารเร่งให้เปรม จนกระทั่งสามารถทยานสู่ตำแหน่งสูงสุดของกองทัพคือ ผู้บัญชาการทหารบกควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว

เปรมก็เลือกใช้บริการของนายทหาร จปร.รุ่น ๗ เป็นฐานกำลังแห่งอำนาจ


ทั้งนี้ก็สืบเนื่องจากนายทหารรุ่นนี้มีบทบาทสูงยิ่งในการควบคุมกลไกของกองทัพบก โดยแยกย้ายกันดำรงตำแหน่งที่ควบคุมกำลังพลสำคัญในตำแหน่งผู้บังคับการกรมอยู่ถึง ๗๙ กรม ซึ่งนับได้ว่าเป็นกลุ่มนายทหารที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในกองทัพ เปรมจึงสามารถใช้นายทหารรุ่นนี้กดดันรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ จนต้องยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เปรมได้ขึ้นนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแทนพร้อมกับควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระ

ทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ นี้เองที่นับได้ว่า เปรมได้บรรลุจุดสูงสุดของชีวิตที่สามารถดำรงตำ แหน่งหมายเลขหนึ่งบนเส้นทางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตำแหน่งสูงสุดในกองทัพบนตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบผู้บัญชาการทหารบก


เมื่อเปรมสามารถทยานขึ้นสู่จุดสูงสุดแห่งอำนาจได้สำเร็จ


เปรมก็หันกลับมาสลายกลุ่มนาย ทหาร จปร ๗ ที่ให้การสนับสนุนเปรมด้วยความหวาดระแวง แล้วก็มาสร้างขุนพลคู่ใจคือ พล.ต.อาทิตย์ กำลังเอก ด้วยสูตรยาอาหารเร่งที่แรงกว่าสูตรที่ภูมิพลเคยให้ นั่นก็คือ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๓ โยกจากผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์มาดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ ๒ ครั้นพออาสาปราบกษฏเมษาฮาวายเมื่อวันที่ ๑-๓ เมษายน ๒๕๒๔ ก็ได้รับการปูนบำเน็จให้มาดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ ๑ พร้อมกับครอบยศพลโท และเพียงอีกไม่กี่เดือนต่อมาคือ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๔ ในปีเดียวกันนี้ พล.อ.อาทิตย์ก็ทยานขึ้นสู่ห้าเสือบนตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก


(เรียกว่าจากยศพลตรีขึ้นสู่ยศพลเอกใช้เวลาเพียงปีเดียว) ....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น